วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ฟิลิปปินส์...มะนิลา

ฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Philippines; ฟิลิปีโน: Pilipinas) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Republic of the Philippines; ฟิลิปีโน: Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในสองชาติในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (อีกชาติหนึ่งคือติมอร์-เลสเต) และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์ ลักษณะภูมิประเทศ เป็นหมู่เกาะของเทือกเขาหินใหม่ พื้นที่ทุกเกาะมีภูเขาเป็นแกนกลาง มีที่ราบอยู่น้อย เป็นที่ราบแคบ ๆ ที่ราบสำคัญ คือ ที่ราบตอนกลางของเกาะลูซอน เรียกว่า ที่ราบมะนิลา เป็นที่ราบที่ใหญ่ที่สุด ลักษณะภูมิอากาศ มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดูได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชัน บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประวัติศาสตร์[แก้] Ferdinand Magellanหลักฐานทางโบราณคดีและโบราณชีววิทยาบ่งบอกว่ามีมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ เคยอาศัยอยู่ในเกาะปาลาวันตั้งแต่ประมาณ 50,000 ปีก่อน ชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียได้เข้ามาตั้งรกรากในฟิลิปปินส์ และจัดตั้งเส้นทางเครือข่ายการค้ากับเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันมาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1000000(พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ เด เลกัสปี มาถึงฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมา หลังจากนั้น นักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้แปรศาสนาของชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ในช่วง 300 ปีนับจากนั้น กองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฏต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากชนพื้นเมืองและจากชาติอื่นที่พยายามเข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปนสูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ใต้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ (New Spain) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงปี ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน (Manila Galleon) จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปี ค.ศ. 1834 การเมืองการปกครอง[แก้]ฟิลิปปินส์เคยตกเป็นอาณานิคมของสเปนและสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเอกราชในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 จึงจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง มะนิลาเขต (regions)[แก้]เขตอีโลกอส (Ilocos Region, Region I) คากายันแวลลีย์ (Cagayan Valley, Region II) เซนทรัลลูซอน (Central Luzon, Region III) คาลาบาร์ซอน (CALABARZON, Region IV-A) มิมาโรปา (MIMAROPA, Region IV-B) เขตบีโกล (Bicol Region, Region V) เวสเทิร์นวิซายา (Western Visayas, Region VI) เซนทรัลวิซายา (Central Visayas, Region VII) อีสเทิร์นวิซายา (Eastern Visayas, Region VIII) คาบสมุทรซัมโบอังกา (Zamboanga Peninsula, Region IX) นอร์เทิร์นมินดาเนา (Northern Mindanao, Region X) เขตดาเวา (Davao Region, Region XI) ซอกสก์ซาร์เกน (SOCCSKSARGEN, Region XII) คารากา (Caraga, Region XIII) เขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม (Autonomous Region in Muslim Mindanao, ARMM) เขตบริหารกอร์ดีเยรา (Cordillera Administrative Region, CAR) เขตนครหลวง (National Capital Region, NCR) (หรือ Metro Manila: เมโทรมะนิลา) ¹ ชื่อภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เป็นชื่อย่อจากชื่อจังหวัดและเมืองในภูมิภาคนั้น ๆ ปังกาสินันลายูนิโอนอีโลกอส ใต้อีโลกอส เหนือเบงเกวตอีฟูเกาเมาน์เทน โพรวองซ์คาลิงกาอาบราอาปาเยานูวา วิสคายาควีรีโนอีซาเบลาคากายานบาทาเนสปัมปางาบูลากันบาตานแซมบาเลสทาร์แลคนูวา อีซิฮาออโรราเมโทร มะนิลาไรซาลลากูนากาวีเตบาตันกาสเกซอนมารินดูครอมบลอนมินโดโร ตะวันออกมินโดโร ตะวันตกปาลาวันกามารีนส์ เหนือกามารีนส์ ใต้อัลบายซอร์โซกอนคาตันดัวเนสมาสบาเตอัคลันกาปีซอิโลอิโลกุยมาราสเนกรอส ตะวันตกแอนทีคเซบูโบฮอลเนกรอส ตะวันออกซิกีฮอร์ซามาร์เหนือซามาร์ ตะวันออกซามาร์ ตะวันตกบิลิรันเลย์เตเลย์เต ใต้ซัมบวงกา เหนือซัมบวงกา ใต้ซัมบวงกา ซิบูกายกะมีกีนบูกิดนอนมิซามิส ตะวันออกมิซามิส ตะวันตกลาเนา เหนือหมู่เกาะ ดินากัตซูรีเกา เหนือซูรีเกา ใต้อะกุซาน ใต้อะกุซาน เหนือดาเวา เหนือกอมโพสเตลา แวลลีย์ดาเวา ตะวันออกดาเวา ใต้โกตาบาโต ใต้ซารังกานีสุลตานกูดารัตโกตาบาโต เหนือบาสิลันซูลูตาวีตาวีมากินดาเนาลาเนา ใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้] ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ กองทัพ[แก้]ดูบทความหลักที่ กองทัพฟิลิปปินส์ ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ กองทัพบก[แก้]ดูบทความหลักที่ กองทัพบกฟิลิปปินส์ กองทัพอากาศ[แก้]ดูบทความหลักที่ กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ กองทัพเรือ[แก้]ดูบทความหลักที่ กองทัพเรือฟิลิปปินส์ กองกำลังกึ่งทหาร[แก้] ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ เศรษฐกิจ[แก้] ย่านออติกัสผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) 423.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) GDP รายหัว 4,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราการเจริญเติบโต GDP 6.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) GDP แยกตามภาคการผลิต ภาคการเกษตร 11.9% ภาคอุตสาหกรรม 31.1% ภาคการบริการ 57% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราการว่างงาน 7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices) 3.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) ผลผลิตทางการเกษตร อ้อย มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วย มันสำปะหลังอัดเม็ด สัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร ไข่ เนื้อวัว ปลา อุตสาหกรรม ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตกปลา อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม 1.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554) หนี้สาธารณะ 51% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) ดุลบัญชีเดินสะพัด 9.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) มูลค่าการส่งออก 50.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สินค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์การขนส่ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม น้ำมันมะพร้าว ผลไม้ ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ สหรัฐ 14.2% ญี่ปุ่น 19% จีน 11.8% ฮ่องกง 9.4% เกาหลีใต้ 5.5% สิงคโปร์ 9.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) มูลค่าการนำเข้า 65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สินค้านำเข้า ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ ธัญพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา 11.5% ญี่ปุ่น 10.4% ไต้หวัน 7.8% สิงคโปร์ 7.1% จีน 10.8% เกาหลีใต้ 7.3% ไทย 5.6% อินโดนีเซีย 4.4% มาเลเซีย 3.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สกุลเงิน เปโซ (Philippine Peso) สัญลักษณ์เงิน PHP เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า ป่าไม้ มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี เหมืองแร่ ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน อุตสาหกรรม ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์ วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้] ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ คมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้] ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ ประชากร[แก้] ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ แผนที่แสดงชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในฟิลิปปินส์มีปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในเกาะมินดาเนา ซึ่งต้องการแยกตัวเป็นอิสระ เรียกว่า "แนวปลดปล่อยแห่งชาติโมโร" วัฒนธรรม[แก้] ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของตะวันตกก่อนจะได้มีโอกาสพัฒนาวัฒนธรรมของตัวเอง วัฒนธรรมฟิลิปปินส์จะมีส่วนคล้ายกับประเทศในละตินอเมริกา ประชาชนแบ่งออกเป็นชุมนุมชนทางเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกัน ภาษา[แก้]มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปีโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษา ตากาล็อก หมายเหตุ: จากการพูดคุยกับชาวฟิลิปปินส์ (รวมถึงนั่งดูรายการทีวีและฟังจากสถานีวิทยุ) ทราบว่า ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์ มีการใช้ภาษาที่เรียกว่า ทากรีส (Tagalog + English) คือพูดตากาล็อกคำอังกฤษคำ ผสมกันไปในประโยคสนทนา แต่เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ของประชาชน แม้แต่ในรายการทีวีและรายการวิทยุ ศาสนา[แก้]ศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์ ศาสนา % คริสต์   92% อิสลาม   5% ฮินดู   2% พุทธ   1% สัดส่วนของศานาต่างๆ ในฟิลิปปินส์ สีน้ำเงินคือศาสนาคริสต์ สีเขียวคือศาสนาอิสลามฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอันดับ 4 ของโลก นิกายโปรเตสแตนต์อันดับ 13 ของโลก ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลก ศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์) ร้อยละ 92.5 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ ดนตรี[แก้]ดนตรีและศิลปะชาวฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากทั้งสองวัฒนธรรมที่มีการย้ายไปยังประเทศนี้ ประเภทแรกของเพลงที่พัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นเพลงพื้นเมืองที่อพยพมาจากไต้หวัน ลักษณะภาคใต้ ภาคเหนืออื่นๆ ลักษณะและรูปแบบลักษณะจะมีสามกลุ่มพื้นฐานของดนตรีพื้นเมือง สไตล์ภาคใต้ของเพลงมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ที่แตกต่างกันรวมทั้งห้า Kulintang,Agung,Gangdinagan,Dabakan และ Babedil รูปแบบของดนตรีพื้นบ้านเภาคเหนือของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงฆ้องเอเซีย เพลงของพวกเขามักจะมีฆ้อง Unbossed เรียกว่า Gangsa นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในภาคใต้และภาคเหนือของสไตล์ดนตรี อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์รวมถึงการเข้าสู่ระบบกลอง ปี่ zithers ไม้ไผ่และ Kudyapi สเปนและโปรตุเกสวัฒนธรรมจากสเปนและเม็กซิโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งการพัฒนาของฟิลิปปินส์ วัฒนธรรมเหล่านี้ได้นำรูปแบบดนตรี Harana Kundiman และ Rondalla ส่วนใหญ่ของเหล่านี้รูปแบบการพัฒนาเป็นเพลงเม็กซิกันและของชนเผ่าระหว่างดนตรีและฟิวชั่นและรูปแบบดั้งเดิมสเปน วันนี้วันที่เม็กซิโกอิทธิพลของสเปนและยังคงอยู่ในเพลงฟิลิปปินส์ทันสมัย โมเดิร์นเพลงที่นิยมในฟิลิปปินส์ยังคงมีรสชาติสเปนและโปรตุเกส ฟิลิปปินส์ศิลปะมีรากฐานมาจากประเพณีพื้นเมืองและโคโลเนียลการนำเข้า เช่นเดียวกับวัฒนธรรมมากที่สุดประเทศฟิลิปปินส์มีสไตล์เป็นของตัวเองชอบศิลปะพลาสติกประติมากรรมและภาพวาด แต่พวกเขายังมีสไตล์ของตัวเองชอบการเต้นศิลปะการเคลื่อนไหว บางส่วนของศิลปินที่มืชื่อเสียงมากที่สุดจากประเทศฟิลิปปินส์ Fernando Amorsolo, David Cortes Medalla, Nunelucio Alvardao,Juan Luna ดูเพิ่ม[แก้]อ้างอิง[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]ค้นหาเรื่อง ประเทศฟิลิปปินส์ เพิ่มเติมที่โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย: นิยามและคำแปลจากวิกิพจนานุกรม ขอขอบคุณข้อมูลจาก รัฐบาล Official website of the Official Gazette of the Philippines Official website of the House of Representatives of the Philippines Official website of the Supreme Court of the Philippines Official website of Bangko Sentral ng Pilipinas (Central Bank of the Philippines) Official website of the National Economic and Development Authority (NEDA) Official website of the Bureau of Agricultural Statistics Official website of the Philippine National Police (PNP) Official website of the Department of Tourism ข้อมูลพื้นฐาน Chiefs of State and Cabinet Members Philippines profile from the BBC News Philippines at UCB Libraries GovPubs WikiAnswers: Q&A about the Philippines Wikia has a wiki on this subject at Philippines Philippines entry at The World Factbook ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ ดีมอซ Philippines at Encyclopædia Britannica Philippine News and Current Events Philippines News and Press Release Distribution Key Development Forecasts for the Philippines from International Futures หนังสือ และ หัวข้อที่นาสนใจ

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภาษาน่ารู้...บรูไนนั่นเอง

สวัสดี ซาลามัด ดาตัง ขอบคุณ เตริมา กะชิ สบายดีไหม อาปา กาบา ยินดีที่ได้รู้จัก เจมบิรา ดาปัด เบอเตมู อันดา (gembira dapat bertemu anda) พบกันใหม่ เบอจัมปา ลากิ (berjumpa lagi) ลาก่อน เซลามัต ติงกัล นอนหลับฝันดี มิมปิ๊ มานิส (mimpi manis) เชิญ เม็นเจ็มพุด (menjemput) ใช่ ยา (ya) ไม่ใช่ ทีแด๊ก (tidak) อากาศดีจัง บาอิค คอค่า (baik cauca) อากาศร้อนมาก ซังกัด พานัส อากาศหนาวมาก คอค่า ยัง ซังกัด เซจุ๊ค (cauca yang sangat sejuk) ไม่เป็นไร ทีแด๊ก อปาอาปา (tidak apa-apa) *หมายเหตุ : มาเลเซีย และ บรูไน ใช้ภาษาเดียวกัน อาหาร น้ำ แอร์ (air) น้ำชา เท (teh) น้ำแข็ง อาอิส (ais) กาแฟ โคปิ (kopi) กาแฟเย็น โคปิ เซจุ๊ค (kopi sejuk) กาแฟร้อน โคปิ พานาส (kopi panas) นม ซูซู (susu) ครีม กริม (krim) น้ำผลไม้ จูส (jus) เนื้อหมู ดาจิง บาบิ (daging babi) ไก่ อายัม (ayam) ปลา อิคาน (ikan) เนื้อวัว ดาจิง (daging) ผัก ซาโย ซายูรัน (sayur-sayuran) ผลไม้ บูอา บัวฮัน (buah-buahan) อร่อย ลาซัท (lazat) ไม่อร่อย ทีแด๊ค เซดั๊บ (tidak sedap) เผ็ด พีดาส (pedas) หวาน มานิส (manis) เปรี้ยว มาซัม (masam) เค็ม มาซิน (masin) ก๋วยเตี๋ยว มิ (mi) น้ำแกง ซุป (sup) ของหวาน เพ็นคูซี่ (pencuci) ขนม มานิส (manis) ไอศครีม อาอิส กริม (ais krim)

เนการาบรูไนดารุสซาลาม

บรูไน (มาเลย์: Brunei) หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์: Negara Brunei Darussalam) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออก บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน) บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) การเมืองการปกครอง[แก้] สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีที่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยู่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคการเมือง ได้แก่ Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่าง ๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ (Internal Security Act (ISA)) ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ (ซึ่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชากรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว เมื่อเดือนกันยายนพ.ศ. 2547 ได้มีการจัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช กำลังพล[แก้] ทหารบรูไนกองทัพของบรูไน (Royal Brunei Armed Forces หรือ RBAF) มีกำลังพลเพียง 7,000 นาย และกำลังสำรอง 700 นาย โดยแบ่งเป็นกองทัพบก 4,900 นาย กองทัพเรือ 1,000 นาย และกองทัพอากาศ 1,100 นาย อย่างไรก็ดี สุลต่านยังมีกองทหารกูรข่าของพระองค์เอง เรียกว่า Gurkha Reserve Unit (GRU) จำนวน 2,500 นาย และกองทหารกูรข่าของอังกฤษ (British Gurkha) รวมกำลังพล 1,000 คน ประจำอยู่ที่เมืองเซรีอา เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัย ให้แก่บ่อน้ำมัน และกิจการผลิตน้ำมันของ Brunei Shell Petroleum โดยรัฐบาลบรูไนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]เขตการปกครองของบรูไนแบ่งเป็น 4 เขต (districts - daerah) คือ บรูไนและมูอารา เบอเลต ตูตง เตมบูรง ภูมิศาสตร์[แก้] ภูมิประเทศบรูไนบรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเตมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เสรีเบกาวัน เมืองท่ามูอารา และเซรีอา ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกมาก[3] เศรษฐกิจ[แก้]บรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูในได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้ง่ความหวังว่าอุตสหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เปล่าจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษานอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย อุตสาหกรรม[แก้]บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในยุโรป และอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไน มุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรม ด้านการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้า และสิ่งทอ เครื่องเรือนจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ การผลิตแก้วเพื่อใช้ทำกระจกรถยนต์ อย่างไรก็ดี บรูไนยังคงประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิ การขาดแคลนช่างมีฝีมือ และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับบรูไนไม่มีแรงงานในประเทศเพียงพอ และต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ[แก้]ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี พ.ศ. 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่ 1.จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น ในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 2.ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี 3.ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ 4.แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 มีสาระสำคัญ ได้แก่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี - GDP) ที่ร้อยละ 5–6 โดยตั้งวงเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินตามแผนฯ ไว้ 7.3 พันล้านดอลลาร์บรูไน ซึ่งคาดว่ากลยุทธ์ทางการพัฒนาใหม่นี้ จะช่วยให้รัฐบาลสร้างสมดุลของงบประมาณได้ดีขึ้น สามารถกำหนดมาตรการในการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งและการขยายตัวให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไนยังยึดแนวคิดของวิธีการปกครองที่ดี (Good Governance) รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชน 5.ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียน และนานาประเทศ 6.พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA) 7.สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้ จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน